หน้าหลัก > ข่าว > ศูนย์เรียนรู้ และอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทย > แมงลัก
แมงลัก

ผู้ดูแลเว็บ วิทยาเขตสมุทรสงคราม
2024-03-04 09:35:28


แมงลัก

ชื่อท้องถิ่น  กอมก้อข้าว (ภาคเหนือ)/ มังลัก (ภาคกลาง)

ชื่อสามัญ   Hoary basil/ Lemon basil

ชื่อวิทยาศาสตร์  Ocimum x africanum Lour.

สกุล  Ocimum

สปีชีส์   africanum

ชื่อพ้อง

Becium obovatum var. glabrior (Benth.) Cufod.

Ocimum album Roxb.

Ocimum americanum var. americanum

Ocimum brachiatum Blume

Ocimum canum Sims

ชื่อวงศ์   LAMIACEAE

กลุ่มพรรณไม้

ไม้ดอก


ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น ไม้ล้มลุกอายุสั้นฤดูเดียว ลำต้นตั้งตรง แตกกิ่งก้านมาก มีกลิ่นหอมเฉพาะตัว สูง 0.3-1.0 ม. ลำต้นและกิ่งก้านเป็นสี่เหลี่ยม สีเขียวแกมเหลือง เมื่อยังอ่อนอยู่มีขนสีขาวหนาแน่น

ใบ ใบเดี่ยวออกเรียงตรงข้าม เป็นรูปหอกถึงวงรี กว้าง 1-2.5 ซม. ยาว 2.5-5 ซม. โคนใบรูปลิ่ม ปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ ผิวใบเรียบ มีต่อมมันทั่วไป ก้านใบยาวได้ถึง 2.5 ซม.

ดอก ดอกเป็นช่อยาวได้ถึง 15 ซม. ประกอบด้วยช่อดอกย่อยออกเป็นกระจุกๆ ละ 3 ดอก ข้อละ 2 กระจุก ใบประดับรูปวงรีแกมใบหอก ยาว 2-3 มม.มีขน ก้านดอกย่อยยาวได้ถึง 4 มม. กลีบเลี้ยงเชื่อมติดกันปลายแยกเป็น 2 พู กลีบดอกสีขาว เชื่อมติดกันเป็นหลอด ปลายแยกเป็น 2 ปาก ยาว 4-6 มม. มีเกสรตัวผู้ 4 อัน ยาว 2 อัน สั้น 2 อัน เกสรตัวเมียมีไข่ 4 อัน รังไข่เว้าเป็น 4 พู

เมล็ด ผลแห้งประกอบด้วยผลย่อย 4 ผล มีกลีบเลี้ยงหุ้มอยู่ ผลย่อยทรงรูปไข่ สีดำ กว้าง 1 มม. ยาว 1.25 มม.

สภาพนิเวศ

กลางแจ้ง

สภาพนิเวศวิทยา

ในบริเวณที่เป็นที่ราบลุ่มมีภูมิทัศน์ที่มีแสงแดด พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 500-2000 ม.

ถิ่นกำเนิด

มีถิ่นกำเนิดในทวีปแอฟริกา อนุทวีปอินเดีย ตะวันออกเฉียงใต้ของจีน

การกระจายพันธุ์

แอฟริกาเขตร้อน

เอเชียตะวันออก - จีน อนุทวีปอินเดีย พม่า มาเลเซีย ไทย เวียดนาม อินโดนีเซีย ฟิลิปปินส์ นิวกินี

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยเพาะเมล็ด

ประเภทการใช้ประโยชน์

อาหาร,สมุนไพร,พืชวัสดุ

- เมล็ด ใช้เป็นยาระบาย เมล็ดแมงลักช่วยการขับถ่ายเพราะเปลือกด้านนอกสามารถพองตัวได้ถึง 45 เท่า โดยไม่ถูกย่อย ทำให้เพิ่มกากและช่วยหล่อลื่น ทำให้ขับถ่ายสะดวกขึ้น


ที่มา: https://www.royalparkrajapruek.org/Plants