หัวไชเท้า หรือ หัวผักกาดขาว
จัดเป็นพืชผักประเภทให้หัวหรือรากที่นิยมใช้ประกอบอาหารจำพวกแกงต้มต่างๆ โดยเฉพาะแกงจืด นอกจากนั้น ยังนิยมนำมาแปรรูปเป็นผลิตภัณฑ์หัวไชเท้าดองเค็ม รวมถึงใช้สกัดสารสำหรับทำยา และเป็นส่วนผสมของเครื่องสำอางเพื่อผิวขาว
ชื่อวิทยาศาสตร์
: Raphanus sativus
L.
วงศ์ : Brassicaceae
(Cruciferae)
ชื่อสามัญ :
Chinese radish
ชื่อท้องถิ่น :
หัวไชเท้า, ผักกาดหัว,
ผักกาดหัวจีน,
ไช้โป๊ว
พืชในตระกูลผักกาดมีประมาณ 51 สกุล 218 ชนิด และมีชนิดพันธุ์มากกว่า 300 ชนิด มีถิ่นกำเนิดทางทิศตะวันออกของชายฝั่งทะเลเมดิเตอร์เรเนียน
หัวไชเท้า/ผักกาดหัว
แบ่งเป็น 2 กลุ่ม คือ
1. กลุ่มยุโรป
(Radish) นิยมปลูกและบริโภคในเขตอบอุ่น
เช่น ยุโรป อเมริกา
ต้องการอากาศเย็นในการเจริญของราก ประมาณ
15ºC มีช่วงการเก็บเกี่ยวสั้น 20-25
วัน ส่วนของรากมีขนาดเล็ก สีแดงเข้ม
บางชนิดมีสีดำ
แต่เนื้อภายในจะมีสีขาวหรือสีแดง
2.
กลุ่มเอเชีย (Chinese Radish หรือ
Japanese Radish) ปลูกมากแถบเอเชีย
ส่วนของรากมี
ขนาดใหญ่
รูปร่างแบบกลมและยาว ขึ้นอยู่กับพันธุ์
ปกติผิวของรากมีสีขาว
แต่บางพันธุ์อาจมีสีแดงเนื้อภายในมีสีขาว
อายุการเก็บเกี่ยวยาวกว่ากลุ่มแรกคือพันธุ์เบาประมาณ
40-50 วัน และพันธุ์หนักประมาณ 60-70 วัน
สามารถแยกเป็น 2 ชนิด คือ
–
พันธุ์แบบญี่ปุ่น (Japanese Type)
ลักษณะเด่น คือ ขอบใบมีลักษณะหยักลึก
มีจำนวนใบมากน้อยขึ้นอยู่กับพันธุ์
มีอายุทั้งสองปี และปีเดียว
ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์หนักหรือปานกลาง
-พันธุ์แบบจีน
(Chinese Type) ลักษณะเด่น คือ ขอบใบเรียบ
ไม่มีรอยหยัก ส่วนใหญ่เป็นพันธุ์เบา
และมีอายุปีเดียว
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ราก
และหัว
รากหรือหัวไซเท้ามีลักษณะทรงกลมรูปทรงกระบอก
หรือ รูปกรวยยาว หรือรูปทรงอื่นๆ
ตามสายพันธุ์ หัวมีสีขาวจนถึงสีแดง
เป็นส่วนที่นำมาประกอบอาหาร
ส่วนปลายของรากหรือหัวมีรากฝอยขนาดเล็กแทงดิ่งลงด้านล่าง
ลำต้น
ลำต้นหัวไชเท้ามีขนาดสั้น
กลม และเป็นข้อสั้น ไม่มีกิ่งก้าน
แทงออกบริเวณตรงกลางหรือรากของหัวไชเท้า
ใบ
ใบหัวไซเท้า
เป็นใบเดี่ยว แทงออกบริเวณข้อของลำต้น
มีทั้งชนิดที่ขอบใบเรียบ
และขอบใบเว้าลึก
ดอก
ดอกหัวไชเท้า
เป็นดอกสมบูรณ์เพศ เจริญออกจากกลางลำต้น
มีก้านดอกยาว 50-100 ซม.
ดอกมีสีขาวหรือขาวอมม่วง
ประกอบด้วยกลีบเลี้ยง 5 อัน เรียงตัวเป็น
2 ชั้น ส่วนกลีบดอกมี 5 อัน
มีต่อน้ำหวานที่ฐานกลีบ
ภายในดอกมีเกสรตัวผู้ 6 อัน
และเกสรตัวเมีย 1 อัน
ดอกบานในช่วงเช้า
ฝัก
และเมล็ด
ฝักของหัวไชเท้า
ยาวประมาณ 2-6 ซม. มีสีเขียวเข้ม
ฝักจะแก่จากด้านล่างขึ้นด้านบน
เมื่อฝักแก่จะมีสีน้ำตาลเทา
เนื้อฝักค่อนข้างแข็ง
ไม่มีรอยแตกตามรอยตะเข็บ
ภายในมีเมล็ดประมาณ 1-10 เมล็ด
เมล็ดมีลักษณะกลม สีน้ำตาลถึงสีน้ำตาลแดง
บางพันธุ์เป็นสีเหลือง ขนาดเมล็ดประมาณ 3
มม.
ประโยชน์
และการแปรรูป
–
เนื่องจากหัวไชเท้ามีรส
จึงนิยมนำมาประกอบอาหารในหลายเมนู อาทิ
แกงจืด
–
นำมาแปรรูปเป็นหัวไชเท้าดองเค็ม
และหัวไชเท้าดองหวาน
–
แปรรูปเป็นหัวไชเท้าตากแห้ง
–
หัวไชเท้าที่ฝานเป็นแผ่นบางๆ
นิยมนำมาปะทับใบหน้าเพื่อบำรุงผิวหน้า
ช่วยลดริ้วรอย รักษาฝ้า
และจุดด่างดำ
–
สารสกัดจากหัวไชเท้านำมาเป็นยารักษาฝ้า
และจุดด่างดำ
เนื่องจากมีสารหลายชนิดที่ออกฤทธิ์ยับยั้งเอนไซม์ไทโรซิเนส
(Antityrosinase Activity)
ที่เป็นสารสำคัญในกระบวนการสร้างเม็ดสีของผิวหนัง
ทำให้ผิวพรรณแลดูคล้ำ
– ใบ
และลำต้นหลังการเก็บเกี่ยวนำมาใช้เป็นอาหารเลี้ยงสัตว์แก่หมู
โค และกระบือ
– ใบ และลำต้น
นำมาผลิตเป็นน้ำหมักชีวภาพหรือใช้ทำปุ๋ยหมัก
คุณค่าทางโภชนาการ
–
พลังงาน 14 กิโลแคลอรี่
– โปรตีน
0.6 กรัม
– คาร์โบไฮเดรต 3
กรัม
– แคลเซียม 24
กรัม
– ฟอสฟอรัส 14
กรัม
– เหล็ก 0.4
มิลลิกรัม
– วิตามินซี 22
มิลลิกรัม
– วิตามิน
B1
– วิตามิน
B1
สารสำคัญที่พบ
ในส่วนของรากหัวไชเท้าสดพบองค์ประกอบทางเคมีหลายชนิด
ได้แก่
•
สารประกอบฟีนอล
–
Kempferol
–
Cyanidine
–
Triterpenes
– Gentisic
acid
– Hydrocinnamic
acid
– Vanillic acid
–
Pelargonidin
–
Luteolin
– Myricetin
–
Quercetin
สรรพคุณหัวไชเท้า
หัวไซเท้า
–
ช่วยกระตุ้นความอยากอาหาร
–
ช่วยย่อยอาหาร
–
ช่วยให้ระบาย
–
ฤทธิ์ฆ่าเชื้อรา
–
ช่วยลดน้ำตาลในเลือด
–
ช่วยกระตุ้นการไหลเวียนของน้ำดี
–
ต้านอนุมูลอิสระ
–
ต้านการอักเสบ
–
ต้านมะเร็ง
–
ลดเลือนริ้วรอย
– วิตามินซี
และสารประกอบฟีนอลในหัวไชเท้ามีคุณสมบัติช่วยให้ผิวขาว
–
ใช้บดเอาไปพอกแผลไฟไหม้
น้ำร้อนลวกได้
ใบ
–
น้ำคั้นสดที่ได้จากใบ มีฤทธิ์ขับปัสสาวะ
และเป็นยาระบาย
เมล็ด
–
เมล็ดช่วยขับลม ขับปัสสาวะ
ขับเสมหะ
รวบรวมจาก วรรษมน, (2557)(1)