หน้าหลัก > ข่าว > > ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านนวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา
ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านนวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

ผู้ดูแลเว็บ วิทยาเขตสมุทรสงคราม
2022-04-21 11:07:35

ปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านนวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา

       การวิจัยครั้งน้ีมีวัตถุประสงค์ 1) เพื่อศึกษาระดับสมรรถนะด้านนวัตกรรมของนักศึกษาฝึกประสบการณ์ วิชาชีพครู สาขาวิชาสังคมศึกษา หลักสูตรครุศาสตรบัณฑิต มหาวิทยาลัยราชภัฏสวนสุนันทา ปีการศึกษา 2560 2) เพื่อศึกษาปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อระดับสมรรถนะด้านนวัตกรรมตามความคิดเห็นของนักศึกษาฯ 3) เพื่อ ศึกษาความสัมพันธ์ระหว่างปัจจัยส่วนบุคคลด้านความรู้ ด้านทักษะการคิด และด้านคุณลักษณะส่วนบุคคลของ นักศึกษาฯ และ 4) เพื่อศึกษาอิทธิพลของปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านนวัตกรรมของนักศึกษาฯ จานวน 70 คน โดยผู้วิจัยเลือกกลุ่มตัวอย่างนักศึกษาด้วยวิธีการสุ่มอย่างง่าย จานวน 59 คน แล้วดาเนินการวิจัย โดยใช้แบบประเมินสมรรถนะ แบบสารวจความคิดเห็น และแบบประเมินปัจจัยส่วนบุคคล จากนั้นวิเคราะห์ข้อมูล ด้วยการคานวณค่าความถี่ ค่าร้อยละ ค่าเฉลี่ยเลขคณิต (̅) ส่วนเบ่ียงเบนมาตรฐาน (S.D.) แล้วแปลความค่าเฉลี่ย ตามเกณฑ์และใช้โปรแกรมสาเร็จรูปSPSS ทดสอบค่าสัมประสิทธิ์สัมพันธ์แบบเพียร์สันและค่าสัมประสิทธิ์ ถดถอยพหุคูณ เพ่ือทดสอบสมมุติฐานการวิจัย ซ่ึงผลการวิจัยพบว่า 1) สมรรถนะด้านนวัตกรรมของนักศึกษาฯ มี ค่าเฉลี่ยรวมในระดับสูง (̅=3.69 S.D.= 0.27) 2) ปัจจัยส่วนบุคคลท่ีส่งผลต่อสมรรถนะด้านนวัตกรรมตามความ คิดเห็นของนักศึกษาฯ ได้แก่ ความรู้ 6 ตัวแปร ทักษะการคิด 6 ตัวแปร และคุณลักษณะส่วนบุคคล 12 ตัวแปร 3) ระดับปัจจัยส่วนบุคคลที่ส่งผลต่อสมรรถนะด้านนวัตกรรมของนักศึกษาฯ ท้ัง 3 ด้าน มีค่าเฉลี่ยอยู่ในระดับสูง (̅=3.76 S.D.= 0.23, ̅=3.62 S.D.= 0.78, ̅=3.69 S.D.= 0.54 ตามลาดับ) 4) ระดับปัจจัยส่วนบุคคลสัมพันธ์ กับระดับสมรรถนะดา้นนวัตกรรมของนักศึกษาฯอย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ.05และ5)ปัจจัยส่วนบุคคล3 ด้าน จานวนรวม 24 ตัวแปร ไม่มีอิทธิพลต่อความสามารถในการเตรียมการ การค้นคว้าข้อมูล และการนามาใช้ อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05 แต่ปัจจัยส่วนบุคคลอย่างน้อย 1 ตัวแปร มีอิทธิพลต่อความสามารถในการ ออกแบบ การต่อยอด การสร้างสิ่งใหม่ การประเมินผล และการปรับปรุงแก้ไข อย่างมีนัยสาคัญทางสถิติที่ระดับ .05

Credit : สุทธิพร แท่นทอง

https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/256645