ชื่อไทย ขมิ้น
ชื่อท้องถิ่น ขมิ้นชัน(กลาง ใต้) / ขมิ้นแกง ขมิ้นหยอก ขมิ้นหัว (เชียงใหม่)/ ขี้มิ้น หมิ้น (ตรัง ใต้)
ชื่อสามัญ Common turmeric/ Turmeric
ชื่อวิทยาศาสตร์ Curcuma longa L.
สกุล Curcuma
สปีชีส์ longa
ชื่อพ้อง
Amomum curcuma Jacq.
Curcuma brog Valeton
Curcuma domestica Valeton
ชื่อวงศ์ ZINGIBERACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ไม้ดอก
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น เป็นไม้ลงหัวจำพวกว่านหรือขิง และเป็นไม้ล้มลุก ลำต้นใต้ดินเป็นเหง้าและแหง่งมีสีเหลืองจัด
ใบ ใบโตกว่าใบกระชาย
ดอก เป็นช่อแทงออกจากเหง้า แทรกขึ้นมาระหว่างก้านใบ รูปทรงกระบอก กลีบดอกสีเหลืองอ่อน ใบประดับสีเขียวอ่อนหรือสีนวล บานครั้งละ 3-4 ดอก ผล รูปกลมมี 3 พู
สภาพนิเวศ
ร่มรำไร
สภาพนิเวศวิทยา
ปลูกได้ดีตั้งแต่ระดับทะเลปานกลางจนถึงที่ความสูง 1350 ม.
ต้องการน้ำฝนปีละ 125-225 มม. ชอบดินร่วนปนทราย และระบายน้ำได้ดี
ถิ่นกำเนิด
ขมิ้นเป็นพืชพื้นเมืองของประเทศในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้
การกระจายพันธุ์ แพร่กระจายไปยังยุโรปและส่วนต่างๆทั่วโลก การปลูกและการขยายพันธุ์ ขยายพันธุ์โดยใช้เหง้า และแง่ง ระยะเวลาการติดดอก พฤษภาคม-ตุลาคม ประเภทการใช้ประโยชน์ อาหาร,สมุนไพร | |
เหง้า มีสรรพคุณในการฆ่าเชื้อแบคทีเรีย
เชื้อรา ช่วยในเรื่องลดการอักเสบของแผล
และผิวหนังช่วยเร่งการสร้างน้ำดีทำให้ร่างกายสามารถย่อยอาหารได้ดีมากขึ้น
ทำให้ช่วยบรรเทาอาการท้องแน่น ท้องอืด
ท้องเฟ้อ ช่วยขับลม |
ที่มา :
https://www.royalparkrajapruek.org/Plants