พุทธรักษา
ชื่อวิทยาศาสตร์ :
Canna indica
L.
วงศ์ :
CANNACEAE
ชื่อสามัญ
: Canna Lily , India Short Plant, India
Shoot,
Bulsarana
ชื่ออื่น :
บัวละวง (ลพบุรี) ปล้ะย่ะ
(กะเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน) พุทธสร
(ภาคเหนือ)
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
: เป็นพืชล้มลุก
จำพวกมีลำต้นแท้อยู่ใต้ดิน
และมีลำต้นเทียมที่ประกอบด้วยก้านใบ
รวมกันคล้ายต้นกล้วย สูงประมาณ 50-200
เซนติเมตร ใบเป็นแผ่นคล้ายใบพาย
หรือรูปหอก ใบมีสีเขียวสด
เส้นใบเรียงขนานกัน เหมือนใบกล้วย
ยาวประมาณ 30-40 เซนติเมตร
ก้านใบเป็นกาบหุ้มลำต้น
ดอกพุทธรักษาออกเป็นช่อตรงยอดของลำต้น
ช่อมีขนาดยาว 15-25 เซนติเมตร
เมื่อออกดอกแล้วจะติดผลสีเขียวมีหนามตื้นๆ
เป็นพู
ผลแก่จะมีสีดำภายในมีเมล็ดขนาดเท่าเมล็ดถั่วลันเตา
ดอกของพุทธรักษา มีหลายลักษณะ หลายขนาด
เนื่องจากพุทธรักษาเป็นพันธุ์ไม้ที่ผสมพันธุ์ง่าย
จึงมีลักษณะดอกแปลกแตกต่างกันมากมายมากกว่า
100 ชนิด
ส่วนสีของดอกนั้นเดิมทีมีเพียงสีแดง
สีส้มอมเหลือง และมีจุดสีปน
แต่จากการผสมพันธุ์ ปรับปรุงพันธุ์
ทำให้ปัจจุบัน พุทธรักษามีสีสรรหลากหลาย
สีขาว สีเหลืองอ่อน สีชมพู สีแสด สีแดง
สีชมพูปนม่วง
ยิ่งไปกว่านั้นปัจจุบันมีการปรับปรุงพันธุ์พุทธรักษาโดยการใช้รังสีแกมม่าเหนี่ยวนำ
ทำให้ได้พันธุ์พุทธรักษาที่หลากหลายมากยิ่งขึ้น
ขยายพันธุ์ด้วยการแยกหน่อ
และเพสะเมล็ด
ประโยชน์
: นอกจากเป็นไม้ประดับแล้ว
พุทธรักษายังมีสรรพคุณทางยาด้วย
โดยมีข้อมูลว่าในประเทศปาปัวนิวกินี
ใช้หัวของต้นพุทธรักษาเป็นอาหารหลักเหมือนหัวเผือกหัวมัน
ส่วนไทยเราเมื่อสมัยโบราณ
นำหัวพุทธรักษามาต้มรับประทาน บำรุงปอด
แก้อาเจียน หรือไอเป็นเลือด
บางครั้งนำดอกมาใช้ห้ามเลือด
รักษาแผลที่มีหนอง เมล็ดใช้บดแก้ปวดศีรษะ
ส่วนพันธุ์พุทธรักษาในปัจจุบัน
ยังไม่มีการยืนยันในสรรพคุณ
เพราะฉะนั้นจงปลูกพุทธรักษาเพื่อเป็นไม้ดอก
ประดับสถานที่ให้สวยงามเท่านั้นก็พอ
ที่มาของข้อมูล : https://www.royalparkrajapruek.org/Plants