ชื่อไทย มะเขือพวง
ชื่อท้องถิ่น มะเขือละคร(นครราชสีมา) / มะแคว้งกูลัว มะแคว้งกูลา(เชียงใหม่) / มะแว้ง(กลาง,ใต้) / มะแว้งช้าง(ใต้) / รับจงกลม หมากแค้ง(นครราชสีมา)
ชื่อสามัญ Turkey berry
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum torvum Sw.
สกุล Solanum
สปีชีส์ torvum
ชื่อพ้อง
Solanum ficifolium Ortega
Solanum mayanum Lundell
ชื่อวงศ์ SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้พุ่มขนาดเล็ก มีความสูงประมาณ 1.0-3.0 ซม. แตกกิ่งก้านโปร่ง เปลือกต้นสีน้ำตาล กิ่งอ่อนและยอดอ่อนมีขนคล้ายผงสีน้ำตาลอ่อน
ใบ เป็นใบเดี่ยว มีการเรียงตัวแบบสลับ ลักษณะใบเป็นรูปไข่ ปลายใบมน โคนใบตัด ขอบใบเว้าเป็นแฉก ปลายขอบเป็นคลื่นห่างๆ แผ่นใบสีเขียว มีขน ใบมีความกว้างประมาณ 5.0-20.0 ซม. มีความยาวประมาณ 7.0-25.0 ซม. ก้านใบมีหนาม
ดอก ออกเป็นช่อที่ซอกใบและปลายกิ่ง ดอกสีขาว มีจำนวนดอก 10-20 ดอก กลีบเลี้ยงมี 5 กลีบ กลีบดอก 5 กลีบ โคนเชื่อมติดกัน ปลายแหลม เกสรเพศผู้สีเหลืองอยู่กลางดอก
ผล รูปทรงกลม มีขนาด 1.0-1.2 ซม. สีเขียวเข้ม ผิวเรียบ ที่ขั้วผลมีกลีบเลี้ยงติดอยู่ เมล็ดแบน สีน้ำตาล มีจำนวนมาก
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา
สามารถพบได้ทั่วไปในเขตร้อน
เจริญเติบโตได้ดีในดินร่วนซุยที่อุดมสมบูรณ์ มีความชุ่มชื้นสม่ำเสมอ ชอบแสงแดดจัดจึงควรปลูกไว้กลางแจ้ง
ถิ่นกำเนิด
แอนทิลลิส ตั้งแต่รัฐฟลอริดา หมู่เกาะเวสต์ อินดีส์ เม็กซิโกจนถึงอเมริกากลางและทวีปอเมริกาใต้แถบประเทศบราซิล
การปลูกและการขยายพันธุ์
ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร
ต้น, ใบ ตำคั้นน้ำทา พอกหรือต้มน้ำอาบ แก้ชาตามมือตามเท้าอัมพาต
ผล มีรสขมเฝื่อนเปรี้ยวเล็กน้อย ช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ตำคั้นเอาน้ำผสมเกลือหรือทุบจิ้มเกลืออมแก้ไอ
ราก ยาแก้ไข้ ขับเสมหะ รักษาเท้าที่แตกเป็นแผล หรือโรคตาปลา
ลำต้น ยาช่วยย่อยอาหาร ขับปัสสาวะ ขับเสมหะ แก้ปวด แก้ฟกช้ำ และทำให้เลือดหมุนเวียนดี
แหล่งอ้างอิง
คณะกรรมการวิชาการดำเนินงานส่วนสวนสมุนไพร พืชสวนโลก. 2549. สวนสมุนไพรในงานมหกรรมพืชสวนโลก 2549. บริษัท สามเจริญพาณิชย์ (กรุงเทพ) จำกัด. กรุงเทพมหานคร. 464 หน้า
ThaiHerbal. 2017. “มะเขือพวง”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://thaiherbal.org/726/726 (10 กรกฎาคม 2560).
The Plant List. 2013. “Solanum torvum Sw.”. [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา: http://www.theplantlist.org/tpl1.1/record/tro-29600147 (10 กรกฎาคม 2560).