ชื่อไทย มะเขือม่วง
ชื่อวิทยาศาสตร์ Solanum melongena L.
สกุล Solanum
สปีชีส์ Solanum melongena
ชื่อพ้อง Solanum esculentum Dunal
ชื่อวงศ์ SOLANACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ลำต้น สูงถึง 60 ซม. แตกกิ่งก้านสาขามาก
ใบ ใบรูปไข่ถึงรูปขอบขนานแกมรูปไข่ กว้าง 5-11 ซม. ยาว 6-18 ซม. โคนใบเบี้ยว ปลายใบมน ขอบใบหยักเว้าเป็นคลื่น
ดอก ช่อดอกเดี่ยว กลีบดอกสีม่วงรูปกงล้อ เกสรเพศผู้ ขนาดประมาณ 7.5 มม.
ผล สีม่วงดำ ม่วง ดำ ชมพู น้ำตาล หรือ เหลือง ผลโตเต็มที่ขนาดเส้นผ่าศูนย์กลางยาวกว่า 6 ซม.
เมล็ด สีเหลือง กว้าง 2.5-3.5 มม. ยาว 2.8-3.9 มม.
สภาพนิเวศ กลางแจ้ง
สรรพคุณของมะเขือม่วง
1. ดอกสดหรือดอกแห้ง นำมาเผาให้เป็นเถ้า แล้วบดให้ละเอียด ใช้เป็นยาแก้ปวดฟัน (ดอก
2. ผลแห้งมีสรรพคุณเป็นยาขับเสมหะ (ผลแห้ง)
3. ลำต้นหรือรากใช้ต้มกินเป็นยาแก้บิด หรือจะนำใบแห้งมาป่นให้เป็นผงใช้เป็นยาแก้โรคบิดก็ได้เช่นกัน (ลำต้น, ราก, ใบแห้ง)
4. ช่วยแก้อาการตกเลือดในลำไส้ (ผลแห้ง)
5. ใบแห้งใช้เป็นยาแก้ปัสสาวะขัด (ใบแห้ง)
6. ช่วยรักษาโรคหนองใน (ใบแห้ง)
7. ผลสดใช้เป็นยาพอกบริเวณที่เป็นแผลอักเสบ ฝีหนอง หรือโรคผิวหนังเรื้อรังและผดผื่นคัน (ผลสด)
8. ลำต้นหรือรากนำมาคั้นเอาน้ำใช้ล้างแผลเท้าเปื่อย (ลำต้น, ราก)
9.
ผลแห้งใช้ทำเป็นยาเม็ดแก้ปวด
(ผลแห้ง)
ประเภทการใช้ประโยชน์
1. ในด้านการนำมาประกอบอาหาร ส่วนใหญ่แล้วจะนำผลดิบมาเผารับประทานร่วมกับน้ำพริก หรือฝานเป็นชิ้นชุบแป้งทอดกรอบก็อร่อยดี ส่วนอาหารญี่ปุ่นก็จะมีมะเขือม่วงเป็นส่วนประกอบเกือบทุกเมนู
2. มะเขือม่วงอุดมไปด้วยวิตามินและแร่ธาตุที่มีประโยชน์ต่อร่างกายหลายชนิด โดยคุณค่าทางโภชนาการของมะเขือม่วง ต่อ 100 กรัม จะประกอบไปด้วย พลังงาน 24 แคลอรี, โปรตีน 1 กรัม, ไขมัน 0.2 กรัม, คาร์โบไฮเดรต 5.7 กรัม, ใยอาหาร 0.8 กรัม, เถ้า 0.6 กรัม, วิตามินเอ 130 หน่วยสากล, วิตามินบี1 10 มิลลิกรัม, วิตามินบี2 0.05 มิลลิกรัม, วิตามินบี 3 0.6 มิลลิกรัม, แคลเซียม 30 มิลลิกรัม, ธาตุเหล็ก 0.6 มิลลิกรัม, ฟอสฟอรัส 27 มิลลิกรัม, โซเดียม 4 มิลลิกรัม, โพแทสเซียม 223 มิลลิกรัม
3. สีม่วงที่เห็นในผลมะเขือม่วง เกิดจากสารแอนโทไซยานิน (Anthocyanin) ซึ่งมีความสามารถในการต้านอนุมูลอิสระได้สูงกว่าวิตามินซีหลายเท่า การรับประทานมะเขือม่วงเป็นประจำจึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็ง ช่วยเสริมสร้างภูมิคุ้มกัน ช่วยเสริมให้ร่างกายต่อต้านเชื้อโรค และช่วยสมานแผลได้ดี
4. สารแอนโทไซยานินในมะเขือม่วงมีฤทธิ์ขยายเส้นเลือด จึงช่วยลดความเสี่ยงของการเกิดโรคหัวใจและอัมพาตได้ด้วย การใส่มะเขือม่วงลงไปในอาหารต่าง ๆ จึงเป็นที่ให้คุณค่าทางยาเพิ่มกับคุณค่าทางอาหาร
5.
มะเขือม่วงเป็นพืชผักเศรษฐกิจอีกชนิดหนึ่งที่ปลูกได้ง่าย
ให้ผลผลิตดี เก็บเกี่ยวได้นาน
และปัจจุบันสามารถส่งออกได้
แหล่งอ้างอิง
Flora of China. “Solanum melongena.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.efloras.org (15 กุมภาพันธ์ 2560)
The Plant List. 2013. “Solanum melongena L.” [ระบบออนไลน์]. แหล่งที่มา http://www.theplantlist.org (15 กุมภาพันธ์ 2560)
:https://medthai.com/%e0%b8%a1%e0%b8%b0%e0%b9%80%e0%b8%82%e0%b8%b7%e0%b8%ad%e0%b8%a1%e0%b9%88%e0%b8%a7%e0%b8%87/ | Medthai