ชะอม
ชื่อท้องถิ่น
โต๊ะปัว (ลัวะ-เชียงใหม่)/ ผักหละ (เหนือ)/ ผักหา (แม่ฮ่องสอน)/ ฝ่าเซ้งดู่ พูซูเด๊าะ (กระเหรี่ยง-แม่ฮ่องสอน)/ โพซุยโดะ (กระเหรี่ยง กำแพงเพชร) / ผักหล๊ะ (ไทยยอง)/ อม (ใต้)/ ผักขา (อุดรธานี)
ชื่อวิทยาศาสตร์ Acacia pennata ( L.) Willd. subsp. insuavis (Lace) I.C. Nielsen
สกุล Acacia
ชื่อพ้อง
Acacia canescens (Kurz) Gamble
Acacia hainanensis Hayata
Acacia hainanensis Hayata
Mimosa ferruginea Rottler
Mimosa pennata L.
ชื่อวงศ์ FABACEAE
กลุ่มพรรณไม้
ผักผล/ผักใบ
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์
ต้น ไม้พุ่มเตี้ยขนาดย่อม ลำต้นสีขาวมีหนามกระจายอยู่ทั่วไป กิ่งชะอมจะเลื้อยตามลำต้น
ใบ ใบประกอบแบบขนนก 2 ชั้น เรียงสลับ หูใบรูปหอก กว้าง 1.0-1.5 ซม. ยาว 3-5 ซม. ปลายมีติ่งหนาม ก้านใบยาว 1-5 ซม. ช่อใบย่อยมี 8-20 คู่ เรียงตรงข้าม ใบย่อยรูปไข่ ขอบขนานยาวรี กว้าง 0.5-1.0 มม. ยาว 2.5-5.0 มม. ปลายใบแหลม โคนใบโค้ง
ดอก สีขาวหรือสีขาวนวลขนาดเล็ก ดอกย่อยรวมกันเป็นช่อกระจุก ทรงกลม แต่ละดอกมีกลีบเลี้ยงและกลีบดอกอย่างละ 4-5 กลีบ เชื่อมติดกันที่โคนเป็นหลอด ปลายแหลมแยกเป็นแฉก รูปใบหอก จะเห็นชัดเจนเฉพาะเกสรเพศผู้เป็นเส้นฝอย ๆ
ผล เป็นฝักแบน ยาว รูปขอบขนาน กว้าง 1.5-2.5 ซม. ยาว 5-13 ซม.มีขนาดเล็กกว่าฝักกระถิน
เมล็ด แบน กว้าง 4.0-6.5 ซม. ยาว 7.5-10.0 ซม. เมื่อแห้งมีสีน้ำตาลเข้ม
สภาพนิเวศ
กลางแจ้ง
สภาพนิเวศวิทยา
พบขึ้นประปรายในป่าเบญจพรรณในระดับล่างจนถึงป่าเขา พบที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 800 ม.
ถิ่นกำเนิด
ในแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ และเอเชียใต้
การกระจายพันธุ์
ภูฏาน กัมพูชา อินเดีย ลาว มาเลเซีย พม่า เนปาล ศรีลังกา ไทย เวียดนาม
การปลูกและการขยายพันธุ์
โดยการเพาะเมล็ด ปักชำ และตอนกิ่ง
ระยะเวลาการติดดอก
เมษายน – กรกฎาคม
ประเภทการใช้ประโยชน์
อาหาร,สมุนไพร,พืชประดับ,พืชวัสดุ
เปลือก เป็นยาขับพยาธิ ยาขับลม ใช้เปลือกแทนสบู่ ใช้เป็นสีย้อมแหจับปลา หรือย้อมหนังจะให้สีน้ำตาลอมแดง
ราก ต้มน้ำดื่ม ช่วยแก้อาการปวดท้อง ท้องขึ้น ท้องอืด ท้องเฟ้อ และขับลมในลำไส้ในท้อง
ใบ ช่วยต่อต้านอนุมูลอิสระ เป็นยาอายุวัฒนะ ช่วยในการขับถ่าย ป้องกันโรคท้องผูก ช่วยบำรุงเส้นเอ็น แก้อาการลิ้นอักเสบเป็นผื่นแดง ช่วยฟื้นฟูผมแห้งเสีย แตกปลาย
ยอดอ่อน รับประทานเป็นผัก ช่วยลดความร้อนในร่างกาย
ที่มา : https://www.royalparkrajapruek.org/Plants