หน้าหลัก > ข่าว > ศูนย์เรียนรู้ และอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทย > ย่านาง
ย่านาง

ผู้ดูแลเว็บ วิทยาเขตสมุทรสงคราม
2024-03-03 11:20:05


ย่านาง

ชื่อท้องถิ่น  เถาวัลย์เขียง (ภาคกลาง)/ จอยนาง (เชียงใหม่)/ ยาดนาง (สุราษฎร์ธานี)

ชื่อวิทยาศาสตร์   Tiliacora triandra Diels

สกุล   Tiliacora

สปีชีส์   triandra

ชื่อวงศ์   MENISPERMACEAE

กลุ่มพรรณไม้

สมุนไพร

ลักษณะทางพฤกษศาสตร์

ลำต้น เป็นไม้เถาพาดพันต้นไม้อื่น เถามีลักษณะเหนียว กลม เถาอ่อนมีสีเขียว เมื่อแก่แล้วเป็นสีน้ำตาล

ใบ เป็นใบเดี่ยว ออกเรียงสลับ รูปไข่แกมรูปหอกกว้าง 2-4 ซม. ยาว 5-12 ซม. โคนใบมนปลายใบแหลม ขอบใบเรียบ แผ่นใบเรียบ มีสีเขียวเข้ม เนื้อใบค่อนข้างเหนียว ก้านใบยาว 1 ซม.

ดอก ออกเป็นช่อตามข้อและซอกใบ ช่อหนึ่งมี 10-20 ดอก ดอกเล็กมีสีเหลือง กลีบเลี้ยงมี 6 กลีบ

ผล มีลักษณะเป็นทรงกลม มีขนาด 0.7 ซม. ผลสดมีสีเขียว ผลสุกเป็นสีแดง เมล็ดมีลักษณะคล้ายรูปเกือบม้า

สภาพนิเวศ

กลางแจ้ง

สภาพนิเวศวิทยา

พบได้ในป่าที่เป็นดินเหนียว หินผุ หินปูนในระดับพื้นล่าง ป่าเบญจพรรณ ป่าโปร่งถึงป่าดิบเขาสูง ที่ความสูงจากระดับทะเลปานกลาง 1,300 ม.

ถิ่นกำเนิด

ตอนกลางของทวีปเอเชียตะวันออกเฉียงใต้

การกระจายพันธุ์

อินเดีย พม่า ประเทศในภูมิภาคอินโดจีน และมาเลเซีย

การปลูกและการขยายพันธุ์

ขยายพันธุ์โดยการเพาะเมล็ด และการตอนกิ่ง

ระยะเวลาการติดดอก

มีนาคม-เมษายน

ประเภทการใช้ประโยชน์

สมุนไพร

รากแห้ง มีรสจืดขมปรุงเป็นยาต้มกินแก้ไข้ เป็นยาขับกระทุ้งพิษ แก้พิษเมาเบื่อ มักใช้รวมกับรากเท้ายายม่อม มะเดื่อชุมพร รากคนทา รากชิงชี่ นอกจากนี้ยังแก้เมาสุรา แก้พิษสำแดง

เถา มีรสจืดขม กินแก้ไข้ ไข้รากสาด ไข้พิษ ไข้เซื่องซึม ไข้ดำแดง ไข้ฝีดาษ แก้ลิ้นแข็งกระด้าง

ใบ เป็นยาถอนพิษ แก้ไข้รากสาด ไข้พิษปวดหัวตัวร้อน อีสุกอีใส หัด และเป็นยากวาดคอ


ที่มา : https://www.royalparkrajapruek.org/Plants