หน้าหลัก > ข่าว > ศูนย์เรียนรู้ และอนุรักษ์พันธุ์พืชสมุนไพรไทย > ทองพันชั่ง
ทองพันชั่ง

ผู้ดูแลเว็บ วิทยาเขตสมุทรสงคราม
2024-04-18 09:52:51


ทองพันชั่ง
ชื่อวิทยาศาสตร์ :Rhinacanthus nasutus (L.) Kurz
ชื่อวงศ์ : ACANTHACEAE
ลักษณะทางพฤกษศาสตร์:

ไม้พุ่มสูง 1-2 เมตร กิ่งอ่อนมักเป็นสันสี่เหลี่ยม ใบเดี่ยวออกเป็นคู่ๆ ตรงข้าม รูปไข่ หรือรูปวงรี โคนและปลายใบสอบเรียว ขอบใบเรียบหรือเป็นคลื่นเล็กน้อย ดอกเป็นช่อสั้นๆ ออกตามซอกใบ กลีบเลี้ยง 5 กลีบ กลีบดอกสีขาวโคนกลีบติดกันเป็นหลอดปลายแยกเป็นสองกลีบ กลีบบนปลายกลีบแยกเป็นสองแฉก กลีบล่างแผ่กว้าง ปลายกลีบแยกเป็น 3 แฉก โคนกลีบมีจุดประสีม่วงแดง เกสรผู้มี 2 อันยื่นพ้นปากหลอดออกมาเล็กน้อย รังไข่มี 1 อัน รูปยาวรีมีหลอด ท่อรังไข่คล้ายเส้นด้าย ผลเป็นฝักยาวภายในมี 4 เมล็ด

สรรพคุณ: 

ราก – แก้กลากเกลื้อน รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคผิวหนัง ดับพิษไข้ แก้พิษงูแก้พยาธิวงแหวนตาผิวหนัง
ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง แก้น้ำเหลืองเสีย แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน รักษามะเร็ง คุดทะราดขับพยาธิตามผิวหนัง ตามบาดแผล แก้ไส้เลื้อน ไส้ลาม แก้ปัสสาวะผิดปกติ
ต้น - บํารุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ รักษาโรคผมร่วง
ใบ - ดับพิษไข้ แก้กลากเกลื้อน ผื่นคัน แก้โรคไขข้ออักเสบ รักษาโรคผิวหนัง รักษาโรคมะเร็ง รักษาโรคความดันโลหิตสูง แก้ผมร่วง บํารุงร่างกาย แก้โรค 108 ประการ แก้ปวดฝี แก้พิษงู ถอนพิษแก้อักเสบ แก้โรคมุตกิต รักษาโรคพยาธิวงแหวนตามผิวหนัง

นอกจากนี้ยังใช้ผสมในตํารับยาร่วมกับสมุนไพรอื่นๆ รักษาโรคต่อไปนี้คือ
ราก – รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด กระเพาะลําไส้ มะเร็งตามร่างกาย ทําให้ผมดกดํา แก้ไอเป็นเลือด อาเจียนเป็นเลือด แก้ริดสีดวงทวาร ดับพิษไข้ รักษาโรคผิวหนัง แก้กระษัย แก้ผมหงอก ผมร่วงรักษาโรคตับพิการ รักษาโรครูมาติซึม รักษาโรคไขข้อพิการ แก้ลมเข้าข้อทําให้ปวดบวมต่างๆ ขับปัสสาวะ แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค
ทั้งต้น - รักษาโรคผิวหนัง คุดทะราด แก้เม็ดผื่นคัน
ต้น – รักษามะเร็งเนื้องอก รักษามะเร็งปอด มะเร็งกระเพาะ มะเร็งตามร่างกาย มะเร็งลําไส้
แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง
ใบ - แก้แมงเคียนกินรากผม แก้เหา แก้รังแค รักษาโรคผิวหนัง แก้ไข้ แก้ปวดหัวตัวร้อน แก้มะเร็งไช แก้หิดมะตอย รักษาโรคมะเร็ง รักษาวัณโรค แก้ใจระส่ำระสาย แก้คลุ้มคลั้ง แก้สารพัดพิษ

สารสําคัญ: สาร Rhinacanthins-C, -N และ -Q ซึ่งเป็นสารหลักในกลุ่ม naphtoquinone esters
ส่วนที่ใช้: ใบสด, รากสด,ต้น,ใบแห้ง

ที่มา: http://medplant.mahidol.ac.th/pharm/botanic.asp?bc=0288&kw=%B7%CD%A7%BE%D1%B9%AA%D1%E8%A7*