กระบวนการสื่อสารทางการเมืองของพลตารวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ : ศึกษาในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2521-2560
การวิจัยนี้มีวัตถุประสงค์ เพ่ือศึกษาบริบททางการเมือง ที่ส่งผลต่อบทบาทและการสื่อสารทางการเมือง ของพลตารวจเอกพงศพัศ พงษ์จริญ ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2521-2560 และ ศึกษาบทบาทและกระบวนการในการ สื่อสารทางการเมืองของพลตารวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ ในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2521-2560 การศึกษาวิจัยใช้ ระเบียบวิธีวิจัยเชิงคุณภาพ (Qualitative Research) มุ่งเน้นศึกษาเพื่อทาความเข้าใจถึงความสามารถทางการ สื่อสารทางการเมือง (Political Communication competence) ผ่านทฤษฎีการสื่อสารของเดวิด เค เบอร์โล เป็นหลักในการดาเนินการควบคู่ไปกับการสัมภาษณ์แบบเจาะลึก (In-Depth Interview) เพื่อเก็บรวบรวมข้อมูล หลายส่วนให้ได้ข้อมูลท่ีครบถ้วน ผลการวิจัย พบว่าบริบททางการเมืองท่ีส่งผลต่อบทบาทและการสื่อสารทาง การเมืองของพลตารวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ เริ่มต้ังแต่ปีพ.ศ.2521 ซ่ึงได้แสดงบทบาทสอดคล้องกับบริบทต่างๆ อย่างเหมาะสม และมีกระบวนการส่ือสารทางการเมืองในช่วงเวลาปี พ.ศ. 2521-2560 อย่างมีประสิทธิภาพ โดย พบว่าในฐานะผู้ส่งสารพลตารวจเอกพงศพัศ พงษ์เจริญ เป็นผู้ท่ีมีความรู้ความสามารถและมีทักษะในด้านการ สื่อสารเป็นอย่างดี รวมท้ังมีทัศนคติที่ดีต่อตนเองและอาชีพ พร้อมยึดถือความถูกต้องและความยุติธรรมเป็นหลัก ส่วนเนื้อหาของสารที่สื่อสารออกไป จะมีความแตกต่างในแต่ละบทบาท ซึ่งโดยภาพรวมแล้วล้วนเป็น“สาร”ที่สร้าง ภาพลักษณ์เชิงบวกทั้งสิ้น ด้านช่องทางการส่ือสารจะมีการส่ือสารผ่านสื่อมวลชนทุกแขนงอย่างเข้มข้น สามารถ สร้างความยอมรับให้แก่กลุ่มผู้รับสารเป้าหมาย ได้แก่ ชนชั้นกลางในเมือง คนรากหญ้า และประชาชนทั่วไป
Credit : ปนัดดา รักษาแก้ว // นันทนา นันทวโรภาส
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/256647