การพัฒนาแบบทดสอบคู่ขนาน สำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ
การพัฒนาแบบทดสอบคู่ขนานสำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผลของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ มีวัตถุประสงค์เพื่อ 1) เพื่อพัฒนาแบบทดสอบคู่ขนาน สำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผลของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ และ 2) เพื่อสร้างเกณฑ์ปกติสำหรับแปลความหมายคะแนนจากแบบทดสอบวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล ของนักศึกษาครูในมหาวิทยาลัยของรัฐ ประชากรที่ใช้ในการศึกษาครั้งนี้เป็นนิสิต นักศึกษาครูชั้นปีที่ 4 ภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2561 ของมหาวิทยาลัยของรัฐทั่วประเทศ จำนวน 20,710 คน เครื่องมือที่ใช้ในการวิจัย เป็นแบบทดสอบวัดความสามารถด้านเหตุผล โดยเป็นข้อสอบแบบเลือกตอบ 4 ตัวเลือก โดยสร้างแบบทดสอบคู่ขนาน จำนวน 3 ฉบับ ฉบับละ 20 ข้อ ผลการวิจัย พบว่า เกณฑ์ปกติ (Norms) ของแบบทดสอบคู่ขนาน สำหรับวัดความสามารถทั่วไปด้านเหตุผล มีคะแนนดิบตั้งแต่ 0 ถึง 20 คะแนน T ตั้งแต่ T12 ถึง T68 โดยคะแนนดิบ 17 ถึง 20 อยู่ในระดับสูง คะแนนดิบ 12 ถึง 16 อยู่ในระดับปานกลาง และคะแนน 0 ถึง 11 อยู่ในระดับต่ำ
Credit : พิทักษ์ เผือกมี
https://so05.tci-thaijo.org/index.php/ssajournal/article/view/256514